บทความอื่นๆ

รู้จัก Carbon Credit & Carbon Footprint กับ JGS

รู้จักโลกร้อน 

Global Warming หรือ ภาวะโลกร้อน  คือ การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือนกระจก หรือที่เราเรียกกันว่า Green house effect ภาวะเรือนกระจก กิจกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก หมายถึง กิจกรรมทุกกิจกรรมที่มีส่วนก่อให้เกิด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งบางกิจกรรม ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง บางกิจกรรมก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยอ้อม ซึ่งก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 7 ชนิด ได้แก่

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide: CO2 )
เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อเป็นแหล่งพลังงานในโรงงาน ภาคการขนส่ง หรือเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้การตัดไม้ทำลายป่ายังเป็นตัวการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกสู่ชั้นบรรยากาศ เนื่องจากต้นไม้และป่าไม่สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้และ กลายสภาพเป็นเนื้อไม รวมถึงการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
ก๊าซมีเทน (Methane: CH4 )
ที่เกิดจากการทำเกษตรกรรม การปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย การหมักมูลสัตว์ การทำนาที่ลุ่มน้ำท่วมขัง การเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหินก๊าซธรรมชาติ และการทำเหมืองถ่านหิน
ก๊าซไนตรัสออกไซด์  (Nitrous Oxide: N2O)
ปกติก๊าซชนิดนี้มีอยู่ในธรรมชาติจากมหาสมุทรและจากการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต ในดินโดยแบคทีเรีย แต่ที่มีเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันเนื่องมาจากเกษตรกรรมเกิดจากการใช้ปุ๋ยไนเตรดในไร่นา การขยายพื้นที่เพาะปลูก การเผาไหม้ เผาหญ้า และมูลสัตว์ที่ย่อยสลาย รวมถึงเชื้อเพลิงถ่านหินจากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมพลาสติกบางชนิด
ก๊าซเพอร์ฟลูออโร คาร์บอน (Perfluorocarbon: PFC)
เป็นก๊าซสังเคราะห์ที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท โดยกลุ่มก๊าซฟลูออริเนตสามารถนำมาใช้แทนก๊าซคลอโรฟลูออโร คาร์บอน (Chlorofluorocarbon : CFCs) ซึ่งเป็นสารที่ใช้อยู่ในปรับอากาศ ตู้เย็น สเปรย์  น้ำยาดับเพลิง
ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ คาร์บอน (Sulfur Hexafluoride: SF6 )
เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีค่าศักยภาพในการทำให้ เกิดภาวะโลกร้อนมากที่สุด เป็นก๊าซที่มักพบในด้านอุตสาหกรรมหนัก เช่น ยางรถยนต์ ฉนวนไฟฟ้า การผลิตสารกึ่งตัวนำไฟฟ้า อุตสาหกรรมแมกนีเซียม เป็นต้น
ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์  (NF3 )
เป็นก๊าซที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่มักถูกใช้ในกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ในการทำความสะอาดห้อง (Chamber) ที่ใช้สำหรับการให้ไอสารเคมี เกาะติดบนแก้วหรือซิลิคอนเวฟเฟอร์
ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน  (Hydrofluorocarbon: HFC)
ใช้เป็นสารที่ความเย็นในเครื่องปรับอากาศ ในบ้าน, รถ หรือสำนักงาน และใช้ในอุตสาหกรรมโฟม และสารดับเพลิง

ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้ว นั่นคือสารที่ชื่อว่า คลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) 

Climate Changed Effect

  • น้ำท่วม
  • คลื่นความร้อน
  • ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ธารน้ำแข็งละลาย มีผลต่อระบบเชิงนิเวศ และสัตว์ป่า
  • พายุ

Carbon Footprint คือ

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือ ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตามข้อกำหนดของมาตรฐาน  ISO 14040 ตลอดกระบวนการต้นน้ำยันปลายน้ำ หรือตลอดวัฏจักร ซึ่งคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นการวัดผลกระทบของผลิตภัณฑ์และบริการจากกิจกรรมของคนที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงปริมาณ โดยใช้ตัวบ่งชี้คือโอกาสในการเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential : GWP) ซึ่งคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มีหน่วยเป็นตันต่อกิโลกรัม ซึ่งแบ่งออกเป็น

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
ตั้งแต่การรับของเข้ามาเพื่อผลิต 
จนกระทั่งการผลิต และการขนส่งออก
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
ทุกๆกิจกรรมที่เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในองค์กร

Carbon Credit คือ

คาร์บอนเครดิต คือ สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งแต่ละกิจกรรมที่ทำให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกจะสามารถวัดปริมาณหน่วยคาร์บอนเครดิตออกมาได้ และสามารถนำไปซื้อขายในตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้

ซึ่งสำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. หรือ Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization :TGO) ภายใต้กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด รวมทั้งติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง ส่งเสริมการพัฒนาโครงการ และตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) ที่ได้รับการรับรอง เป็นศูนย์กลางข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานการณ์ดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับคำรับรอง และการขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) ที่ได้รับการรับรอง ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ตลอดจนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยจะเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ

ตลาดคาร์บอนเครดิต เป็นตัวกลางที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม โดยการนำสินค้าที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิตมาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน ที่ทำให้เครื่องมือทางการตลาด (Market Mechanism)

หน่วยงานในประเทศไทย ที่ดูแลด้าน Carbon

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.

หน่วยงาน TCNN

ดูแลด้านการสมัครเป็นองค์กรผู้ริเริ่มด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก, องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก และองค์กรผู้พัฒนานวัตกรรมด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก

หน่วยงาน T-VER

การพัฒนาโครงการ, การเปิดบัญชี T-VER Credit และ การซื้อขายคาร์บอนเครดิต ภายใต้ Carbon Market Place

JGS เป็นผู้ดูแล ดำเนินการเอกสารให้

Scroll to Top