Blog

ทำไมธุรกิจเราต้องเป็นองค์กรสีเขียว (Green Organization)

“Green Organization” หรือองค์กรสีเขียว ปัญหาภาวะโลกร้อน 🌍🔆ที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเรารุนแรงงขึ้นทุกวัน จึงทำให้ทุกคนหันมาสนใจแนวคิดเรื่องขององค์กรสีเขียวจนได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากจะช่วยให้ตนเองอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  . วันนี้ JGS จะมาชี้นำ 6 เหตุผล ทำไมเราต้องเป็นองค์กรสีเขียว🌱💚 องค์กรที่ดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นการคำนวณค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกต่างๆการกำหนดนโยบายต่างๆ เพื่อเป็น Green Organization จะทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีการวิเคราะห์ผลและวางแผนต่อเพื่อพัฒนาต่อไป ติด Solar Cell กับ JGS Synergy Power ❤️💜🧡 คุ้มค่า ปลอดภัย ช่วยลดภาระค่าไฟได้อย่างแน่นอน! 🏠 กองทัพของแถมสุดจึ้ง พิเศษสำหรับลูกค้าสำหรับลูกค้า JGS เท่านั้น  🎁 ฟรี ประกันภัยอัคคีภัยสำหรับโซลาร์เซลล์ วงเงินคุ้มครองสูงสุด 1,500,000.00 บาท 🎁 ฟรี บริการดูแลรักษาระบบ และล้างแผงตลอดระยะเวลา 2 ปี 🎁 สำรวจหน้างานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย 🎁 บริการดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตกับการไฟฟ้าและหน่วยงานภาครัฐ และฟรีค่าธรรมเนียมการขออนุญาต🏫 …

ทำไมธุรกิจเราต้องเป็นองค์กรสีเขียว (Green Organization) Read More »

ติดโซลาร์เซลล์แบบ PPA ลงทุน 0 บาท

✨PPA ลงทุน 0 บาท โรงงาน ผู้ประกอบการหมดปัญหา อยากมีพลังงานสะอาดไว้ใช้ แต่ไม่อยากลงทุน 👇 JGS ขอนำเสนอ PPA (Power Purchase Agreement) คือ สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้า (JGS) จากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV) กับผู้ใช้ไฟฟ้า โดยผู้ผลิตจะติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนพื้นที่ของผู้ใช้ และขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้กับผู้ใช้ในราคาที่ตกลงกันไว้ ให้ผู้ประกอบได้ประโยชน์เต็มๆ  💖 ติดโซลาร์ ลงทุน 0 บาท 💖รับประกัน: ดูแลรักษาระบบยาวนาน เท่ากับอายุสัญญา 💖ประหยัดค่าไฟ: ผู้ใช้สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 20-40% **ไม่รวมผลประหยัดจากค่า Ft.** 💖เป็นเจ้าของระบบ: หลังหมดอายุสัญญา (10-20ปี)  💖ภาพลักษณ์ขององค์กร: องค์กรสีเขียวใส่ใจสิ่งแวดล้อม  เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด 🏭เหมาะกับธุรกิจที่มีการใช้ไฟ และโหลดการใช้ไฟเป็นจำนวนมาก 🔆บริษัทที่มีการใช้ไฟ 6-7 วัน ต่อสัปดาห์ และมีการใช้งานกลางวันเป็นหลัก มาพร้อมกับของแถมเฉพาะ สำหรับลูกค้า JGS เท่านั้น …

ติดโซลาร์เซลล์แบบ PPA ลงทุน 0 บาท Read More »

โซลาร์เซลล์ทั้ง 3 ระบบ On Grid กับ Off Grid และ Hybrid แตกต่างกันอย่างไร

ปลดล็อคข้อสงสัยความต่างของโซลาร์เซลล์ On Grid กับ Off Grid และ Hybrid โซลาร์เซลล์ทั้ง 3 ระบบ มีการทำงานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน รวมถึงจุดประสงค์ของการใช้งาน ที่ผู้ใช้สามารถเลือกได้ตามความต้องการของผู้ติดตั้ง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ในการใช้งาน . รูปแบบการดึงพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ร่วมกับพลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้า และ มีการแปลงพลังงานผ่านอินเวอร์เตอร์ โดยไม่มีการจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินเอาไว้ แต่สามารถขายคืนให้กับทางหน่วย จึงเหมาะกับที่พักอาศัยที่ใช้งานไฟฟ้าช่วงกลางวันเยอะ หรือ องค์กร ที่ทำงานต่อเนื่องในช่วงเช้าถึงเย็น รูปแบบการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ที่เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเอาไว้ในแบตเตอรี่ สามารถใช้งานไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องในช่วงที่แสงแดดน้อย หรือช่วงเวลาที่ระบบไฟฟ้ามีปัญหา เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ขนาดเล็ก และพื้นที่ที่ไฟจากการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง รูปแบบผสมผสานหลักการทำงาน อุปกรณ์ระบบ และ คุณสมบัติต่างๆ จาก On Grid และ Off Grid มีการจัดเก็บไฟฟ้าส่วนเกินไว้ในแบตเตอรี่ และ จ่ายพลังงานสำรองเฉพาะตอนที่กระแสไฟบ้านดับเท่านั้น โดยต้องมีการรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ และ พลังงานไฟฟ้าหลักพร้อมกัน ข้อจำกัดคือไม่สามารถขายกระแสไฟฟ้าส่วนเกินคืนให้การไฟฟ้าได้ . โซลาร์เซลล์ทั้ง 3 ระบบ จะแตกต่างกันตามการใช้งาน และ ความเหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งาน ก่อนการติดตั้งควรศึกษาข้อมูลของแต่ละระบบ …

โซลาร์เซลล์ทั้ง 3 ระบบ On Grid กับ Off Grid และ Hybrid แตกต่างกันอย่างไร Read More »

บ้านแบบไหนถึงจะเหมาะกับการติดตั้งโซลาร์

การติดโซลาร์เซลล์ที่บ้านคุ้มค่าจริงไหม? 5 ข้อที่ควรรู้ก่อนที่จะตัดสินใจติดโซลาร์ 1. รู้ปริมาณและพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของตัวเอง ก่อนจะตัดสินใจว่าจะติดตั้งโซลาร์เซลล์หรือไม่ และถ้าติดจะต้องติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาดเท่าไหร่ถึงจะพอใช้งาน คุณต้องสำรวจและสังเกตพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าและช่วงเวลาในการใช้ไฟฟ้าของตัวเอง อย่างเช่น บ้านที่มีการใช้ไฟมากในช่วงกลางวัน มีผู้สูงอายุอยู่ที่บ้าน มีการทำงานที่บ้าน หรือแม้แต่โฮมออฟฟิต ที่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้า ในตอนกลางวัน อาจจะเป็นอัตราส่วน 50/50 กับเวลากลางคืน ถ้าคุณมีพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าลักษณะแบบนี้ โซลาร์เซลล์ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกของการประหยัดค่าไฟในช่วงเวลากลางวัน แต่ถ้าในทางกลับกันบ้านที่ไม่ค่อยมีคนอยู่ช่วงกลางวัน เพราะต้องออกไปทำงานข้างนอก แล้วกลับมาใช้ไฟเยอะในช่วงกลางคืน แบบนี้ถ้าติดโซลาร์เซลล์เพื่อลดค่าไฟก็อาจลดได้ไม่มากนัก ตอนกลางคืนโซลาร์เซลล์ใช้งานได้หรือไม่?? คำตอบคือใช้งานได้ เมื่อมีแบตเตอรี่เข้ามาพ่วง เพื่อสำรองไฟเก็บไว้ใช้ในเวลากลางคืน แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ต้องแจ้งตรงๆว่า ราคาแบตเตอรี่ในตลาดนั้นยังค่อนข้างสูงมาก เกือบถึง 2 เท่าตัว ถ้าเทียบกับระบบโซลาร์เซลล์ออนกริด 2. เช็กความพร้อมของบ้าน ความแข็งแรงของหลังคา แผงโซลาร์เซลล์ 1 แผงมีน้ำหนักอยู่ประมาณ 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งเมื่อเราไปวางบนหลังคา ถือว่าหลังคาและโครงสร้างของบ้านจะต้องพร้อมรับน้ำหนักแผงโซลาร์เซลล์ ที่หนักเพิ่มขึ้น เป็นเวลาถึง25ปี (ตามอายุการใช้งานของแผง) ดังนั้นก่อนที่จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ คุณอาจต้องประเมินสภาพหลังคาเพื่อซ่อมแซมโครงสร้างบ้านให้แข็งแรง หรือเปลี่ยนหลังคาใหม่เสียก่อน ซึ่งค่าเปลี่ยนหลังคาหรือเสริมโครงสร้างก็เป็นอีกหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนในการติดตั้งSolar Rooftop แต่ก็นับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า …

บ้านแบบไหนถึงจะเหมาะกับการติดตั้งโซลาร์ Read More »

เทคนิคการประหยัดไฟเพิ่มขึ้นเมื่อติดโซลาร์เซลล์

1. เลือกใช้ไฟเป็นเวลา เนื่องจากว่าโซลาร์ระบบออนกริด ทำงานเป็นเวลา ช่วงเวลาที่ทำงานได้ดี คือเวลากลางวัน ช่วงที่มีแสงแดดเฉลี่ย 5ชั่วโมง เวลา 10.00-15.00น. ซึ่งถ้าเราเลือกใช้ไฟฟ้าให้เป็นเวลาที่เหมาะกับช่วงที่โซลาร์ทำงาน โดยการตั้งระบบเปิด-ปิดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เป็นเวลาจะทำให้เราสามารถกำหนดการใช้จ่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าได้มากขึ้น กิจกรรมที่สามารถเลือกเวลาได้ เช่น การตั้ง timer หม้อหุงข้าว ให้ทำงานในช่วงเวลากลางวัน ในขณะที่เราไปทำงาน พอกลับมาบ้านก็ได้ทานข้าวเย็นเลย อีกทั้งได้ใช้ไฟจากโซลาร์ ไม่ต้องเสียค่าไฟในส่วนนี้ การวางแผนการชาร์ทรถยนต์ไฟฟ้า มาชาร์ทในเวลากลางวัน 2. รู้หรือไม่ว่ามิเตอร์ของคุณเป็นประเภทไหน ประเภทของบิลค่าไฟ จะแบ่งตามขนาดการใช้ไฟของลูกค้า และจะแบ่งเป็นประเภทย่อย เป็น TOD (Time of Day) และ TOU (Time of Use) ซึ่งค่าไฟประเภท TOD คือค่าไฟที่คิดรายหน่วย กล่าวคือ ยิ่งใช้มาก ยิ่งจ่ายมาก ยิ่งใช้น้อยยิ่งจ่ายน้อย ในอีกประเภท TOU คือการคิดค่าไฟแบบแบ่งช่วงเวลา ตามประกาศของการไฟฟ้า ซึ่งโดยปกติ ช่วง On-Peak เวลา 09.00-22.00 …

เทคนิคการประหยัดไฟเพิ่มขึ้นเมื่อติดโซลาร์เซลล์ Read More »

ไฟฟรีจากฟ้า / เปลี่ยนหลังคาบ้านให้เป็นเงิน

ตามประกาศ กกพ. เรื่อง ประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม 2566 ระบุว่า กกพ. จะกำกับการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย ให้เป็นไปตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) และตามนโยบายของรัฐ โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายร่วมกันบริหารจัดการรับซื้อไฟฟ้าในช่วงปีพ.ศ. 2564 – 2573 จำนวนไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ (MWp) มีกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้า 2.20 บาทต่อหน่วยและระยะเวลารับซื้อ 10 ปี ทั้งนี้ ให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายนับปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าตามกำหนดวัน SCOD SOLAR ภาคประชาชน / ขายไฟ

รู้จัก Carbon Credit & Carbon Footprint กับ JGS

รู้จักโลกร้อน  Global Warming หรือ ภาวะโลกร้อน  คือ การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือนกระจก หรือที่เราเรียกกันว่า Green house effect ภาวะเรือนกระจก กิจกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก หมายถึง กิจกรรมทุกกิจกรรมที่มีส่วนก่อให้เกิด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งบางกิจกรรม ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง บางกิจกรรมก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยอ้อม ซึ่งก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 7 ชนิด ได้แก่ ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้ว นั่นคือสารที่ชื่อว่า คลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC)  Climate Changed Effect Carbon Footprint คือ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือ ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตามข้อกำหนดของมาตรฐาน  ISO 14040 ตลอดกระบวนการต้นน้ำยันปลายน้ำ หรือตลอดวัฏจักร ซึ่งคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นการวัดผลกระทบของผลิตภัณฑ์และบริการจากกิจกรรมของคนที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงปริมาณ โดยใช้ตัวบ่งชี้คือโอกาสในการเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential : …

รู้จัก Carbon Credit & Carbon Footprint กับ JGS Read More »

JGS ชวนลดต้นทุนทางธุรกิจ ด้วยการติดตั้งโซลาร์ และ สิทธิประโยชน์ทางภาษี BOI

ธุรกิจ SME ถึง ธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร การใช้ไฟฟ้าในกระบวนการทำงาน ก็เป็นหนึ่งในต้นทุนของคุณ หันมาติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่าแค่ประหยัดค่าไฟ!!! คุ้มแค่ไหน ดูง่ายๆ จากกำลังติดตั้ง 1เมกะวัตต์ ที่สามารถประหยัดได้ถึง…. Option ขนาดกำลังติดตั้ง 1MW! (999.90kWp) ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 3-5 ปี ประหยัดไปได้ถึงปีละ 5.x ล้านบาท ได้รับ Carbon Credit  Tco 2/MWh  6xx.xx หน่วย/ปี Carbon Credit Price (THB) 3x,xxx บาท/ปี สิทธิประโยชน์อื่นๆ(ถ้าได้รับสิทธิ BOI และการซื้อขายคาร์บอนเครดิต) ระยะเวลาคืนทุนจะเหลือเพียง 2-3 ปี เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์จากการขอ  BOI มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ยื่นขอรับการส่งเสริมจะต้องเสนอแผนการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อการประหยัดพลังงาน การนำพลังงานทดแทนมาใช้ในกิจการ หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  เงื่อนไข: ต้องเข้าข่ายอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุน แบ่งตามกองส่งเสริมการลงทุน กองส่งเสริมการลงทุน 1 อุตสาหกรรมเกษตร อาหาร …

JGS ชวนลดต้นทุนทางธุรกิจ ด้วยการติดตั้งโซลาร์ และ สิทธิประโยชน์ทางภาษี BOI Read More »

บ้านประหยัดไฟกับโซลาร์เซลล์

เพื่อนๆรู้หรือไม่ 1 ชั่วโมง เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟเท่าไหร่ ?? ถ้ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่านี้ควรติดโซลาร์เท่าไหร่น้า สูตรการคำนวณ เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟ (กิโลวัตต์ชั่วโมง) = กำลังไฟฟ้า (วัตต์) * จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า*จำนวนชั่วโมงทำงานใน 1วัน / 1,000 เช่น เครื่องซักผ้า 1 เครื่อง 1,000 วัตต์ ใช้งานต่อเนื่อง 1ชั่วโมงต่อวัน เท่ากับว่า เครื่องซักผ้ากินไฟ 1000 วัตต์ชั่วโมง (Watt/hr) = 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh)

โซลาร์เซลล์คืออะไร มีกี่ระบบ ทำไมต้องใช้โซลาร์ มีต้นทุนมั้ย คุ้มค่ากับการลงทุนมั้ย

โซล่าเซลล์ (solar cell) หรือที่เรียกกันว่า เซลล์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic cell) คือการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบวัตถุที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าอินเวอร์เตอร์ เป็นตัวแปลงพลังงานไฟฟ้า จากกระแสตรง (DC) เป็นกระแสสลับ (AC) ไฟบ้าน เพื่อนำไปใช้ในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรม โดยผ่านที่ตู้ไฟฟ้าหรือตู้เบรกเกอร์หลัก โซลาร์เซลล์มีกี่ระบบ ?? Solar Cell มี 3 ระบบ ON-GRID OFF-GRID HYBRID การทำงานของระบบโซลาร์แบบ On-Grid (ไม่มีแบตเตอรี่ในการสำรองไฟฟ้า) ระบบโซลาร์แบบ On-Grid เป็นระบบที่ใช้ในเวลากลางวัน ซึ่งเมื่อแผงโซลาร์เซลล์ได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ จะถูกส่งไปที่อินเวอร์เตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าจากกระแสตรง (DC) เป็นกระแสสลับ (AC) เพื่อนำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ครัวเรือนและอุตสาหกรรมโดยผ่านที่ตู้เบรกเกอร์หรือตู้ไฟฟ้าของลูกค้าก่อน ถ้าหากโซลาร์เซลล์ผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการการใช้ไฟฟ้าของลูกค้า ก็สามารถดึงไฟจากการไฟฟ้ามาใช้เสริมได้ แต่ถ้าหากมีโซลาร์เซลล์ผลิตเกินความต้องการการใช้ไฟของลูกค้า (ในเงื่อนไขลูกค้ามีบิลค่าไฟ เป็นประเภท1 บ้านอยู่อาศัย และการติดตั้งขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ลูกค้าสามารถขายไฟฟ้าคืน ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และการไฟฟ้านครหลวง …

โซลาร์เซลล์คืออะไร มีกี่ระบบ ทำไมต้องใช้โซลาร์ มีต้นทุนมั้ย คุ้มค่ากับการลงทุนมั้ย Read More »

Scroll to Top